Thursday, 19 September 2024 - 11:42 pm
spot_img
Thursday, 19 September 2024 - 23:42
spot_img

“ธรรมนัส ”เล็งแก้ปลาหมอคางดำ แปรรูปเป็นปลาร้าสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เผยไทยส่งปลาร้ามูลค่ากว่าปีละ 2 พันล้านบาท

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมประมง ภาครัฐ และเอกชน ร่วมแถลงข่าวในหัวข้อ “ปลาหมอคางดำ ทำอย่างไรให้เป็นปลาร้า Hygienic”ภายในงาน “Hygienic ปลาร้าไทย เกรียงไกรตลาดโลก” แชร์เทคนิคการแปรรูปปลาหมอคางดำเป็นน้ำปลาร้าแบบถูก สุขลักษณะ พร้อมนำเสนอ 5 เมนูสุดพิเศษจากปลาหมอคางดำที่ปรุงคู่กับปลาร้าไทยมาให้ผู้เข้าร่วมงานชม และชิมพร้อมทั้งจัดนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์จากก้างปลาหมอคางดำตอบโจทย์การใช้ประโยชน์จากเศษเหลือทิ้ง และเมนูอาหารจากปลาหมอคางดำมากมาย รวมถึงบูธผลิตภัณฑ์จากปลาร้า เพื่อเป็นไอเดียหนุนภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำเพื่อการบริโภคเพิ่มขึ้น

โดยร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ล่าสุดได้สั่งการให้กรมประมงเร่งแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในทุกมิติ ทั้งการขับเคลื่อน 7 มาตรการ ภายใต้แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ พ.ศ. 2567 – 2570 และสร้างแรงจูงใจให้มีการจับเพิ่มขึ้น ทั้งการตั้งจุด รับซื้อในพื้นที่ระบาดและการันตีราคาที่ 15 บาท/กิโลกรัม ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำ นอกจากการเร่งกำจัดออกจากระบบนิเวศแล้ว ล่าสุด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมเดินหน้าแปรรูปปลาหมอคางดำ โดยประสานวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ นำปลาหมอคางดำมาแปรรูปเป็นปลาร้า เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

“ตอนนีัผมได้สั่งการให้กรมประมงได้ประสานวิสาหกิจชุมชนที่ภายใต้การกำกับดูแลขิงกรมส่งเสริมการเกษตรฯเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากปลาหมอคางดำเป็นปราร้าเพื่อป้อนโรงงานปลาร้าเพราะมีข้อมูลว่ามีการส่งออกปลาไปยังต่างประเทศมีมูลค่าปีละกว่า2,000ล้านบาทหากทำได้ก็จะเป็นการสร้างมูลค่าให้กับปลาหมอคางดำได้อีกทาง
”ร้อยเอกธรรมนัสกล่าว

ร้อยเอกธรรมนัส กล่าวด้วยว่า ในประเด็นเรื่องการตรวจสอบการนำเข้ากับหมอคางดำนั้น เบื้องต้นกรมประมงได้รายงานผลการตรวจสอบให้ตนได้ทราบแล้วในเบื้องต้น แต่ขณะนี้มีคนไปร้องต่อศาลปกครอง จึงต้องปิดข้อมูลหลักฐานเป็นความลับ เพื่อไม่ให้กระทบต่อรูปคดี

ด้านนาย บัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง กล่าวด้วยว่า จากการวิจัยปลาหมอคางดำ มีปริมาณโปรตีนร้อยละ 18 ถึง 20 และมีไขมันร้อยละ 0.25 ถึง ร้อยละ3 ซึ่งเป็นค่าที่ใกล้เคียงกับปลาน้ำจืดทั่วไป จึงสามารถนำมาประกอบอาหารและแปรรูปด้วยการถนอมอาหารในรูปแบบต่างๆได้ โดยผลิตภัณฑ์ปลาร้าที่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศ ก็จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน GMP จากกรมประมง ตามมาตรฐานการส่งออกของแต่ละประเทศ เพื่อควบคุมสินค้าไทย ให้มีคุณภาพ มาตรฐานและปลอดภัย เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

LATEST NEWS